หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนคืออะไร
หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน เป็นหลักสูตรความรู้เบื้องต้นด้านการเงินและการลงทุน ซึ่งเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ความรู้ ปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและตลาดทุน รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และครอบคลุมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ผ่านหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุน ได้อย่างมีคุณภาพ
ทั้งนี้ผู้แนะนำการลงทุนคือ ผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนซึ่ง ได้แก่ การติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุน หรือการให้คำแนะนำเพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (อาทิ หุ้น พันธบัตรกองทุนรวม หรือสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้า)
โดยปัจจุบันสามารถจำแนกประเภทผู้แนะนำการลงทุน ตามขอบเขตการให้บริการเป็น 7 ประเภทด้วยกันดังต่อไปนี้
ประเภทของผู้แนะนำการลงทุน
หมายเหตุ: *ผู้แนะนำด้านโลหะมีค่า สามารถให้คำแนะนำได้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับโลหะมีค่าเท่านั้น
หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน บริหารจัดการโดย ศูนย์ส่งเสริม การพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) เป็นผู้พัฒนาเนื้อหาตำราประกอบ การทดสอบ กำหนดโครงสร้างหลักสูตรทดสอบ กำหนดมาตรฐาน ศูนย์ทดสอบและศูนย์ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ ให้กับธุรกิจตลาดทุน
หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน เหมาะสำหรับ
– ผู้ที่เตรียมความพร้อมเข้าสู่วิชาชีพด้านการให้คำแนะนำการลงทุน ในหลักทรัพย์
– นิสิตนักศึกษาที่ต้องการทดสอบและพัฒนาความรู้ด้านการลงทุน
– ผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในอุตสาหกรรม
โครงสร้างหลักสูตรทดสอบ
เนื้อหา บังคับ
หมวดที่ 1. วิชาความรู้พื้นฐาน (FundamentalKnowledge Module) (M1)ประกอบไปด้วยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ระบบการเงินและตลาดการเงิน ผลตอบแทนและความเสี่ยง การวิเคราะห์ข้อมูลและการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ (Portfolio Management)
หมวดที่ 2. วิชาความรู้ด้านกฎระเบียบพื้นฐานที่เกี่ยวข้องและการให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม (CommonRules and Regulations and Suitability Module) (M2) ประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการเงินกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลและเสนอ ขายตราสารประเภทต่างๆ และการวางแผนการลงทุน
เนื้อหา เฉพาะ เจาะจง
หมวดที่ 3. 3.1 หมวดวิชาความรู้เกี่ยวกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Products Knowledge Module) (M3.1) ประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ได้แก่ (ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุน และ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า)
3.2 ความรู้ด้านกฎระเบียบเฉพาะและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Specific Rules and Regulations and Standard Practices Module) (M3.2) ประกอบไปด้วยกฎระเบียบ และ แนวปฏิบัติในการทำธุรกรรมและปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์แต่ละประเภทและสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
รูปแบบการทดสอบ
สอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (สามารถทราบผลการทดสอบทันทีหลังสอบเสร็จ)
ศูนย์ทดสอบ
สามารถดูตารางทดสอบและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1. www.ati-asco.org 2. www.aimc.or.th
เกณฑ์การผ่านการทดสอบ
70% ของคะแนนรวมและบังคับผ่าน 70% ของหมวดวิชาที่ 2
อายุของผลสอบ
มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่สอบผ่าน
หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน จัดแบ่งเป็น 4 กลุ่มรวม 23 หลักสูตรทดสอบเพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจมีคุณสมบัติแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1: ชุดหลักสูตรผู้แนะนำการลงทุน มีทั้งหมด6 หลักสูตรทดสอบซึ่งผู้ผ่านการทดสอบสามารถนำผลการสอบผ่าน ประกอบการขึ้นทะเบียนเป็นผู้แนะนำการลงทุนในแต่ละด้านได้ทันที
กลุ่มที่ 2: ชุดหลักสูตรเพิ่มธุรกรรม มีทั้งหมด 8 หลักสูตรทดสอบ เป็นหลักสูตรสำหรับผู้แนะนำการลงทุนด้านต่างๆ ที่ต้องการเพิ่มธุรกรรมแนะนำการลงทุน เช่น ผู้แนะนำการลงทุนด้านกองทุนรวมต้องการเพิ่มธุรกรรมด้านตราสารหนี้
กลุ่มที่ 3: ชุดหลักสูตรเฉพาะสำหรับผู้แนะนำโลหะมีค่า มีทั้งหมด 2 หลักสูตร เป็นหลักสูตรทดสอบสำหรับผู้แนะนำ โลหะมีค่าที่ต้องการเพิ่มธุรกรรมแนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์และด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
กลุ่มที่ 4: ชุดหลักสูตรกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานการปฏิบัติงาน มีทั้งหมด7 หลักสูตรแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยดังนี้
1) เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่สอบผ่านคุณวุฒิจากต่างประเทศ เช่น Chartered Financial Analyst : CFA , Certified Financial Planner: CFP หรือผู้ประกอบวิชาชีพในต่างประเทศและต้องการมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย
หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนคืออะไร
25 พ.ค. 2559